มหาบุรุษแห่งสยามประเทศ เดิมชื่อ เงื่อม พานิช เกิดที่พุมเรียง อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ตอน 8 ขวบพ่อแม่พาไปฝากตัวเป็นเด็กวัดพุมเรียง (วัดใหม่) บวชพระเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2469 ได้ฉายาว่า "อินทปัญโญ" แปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ หลังจากสอบได้นักธรรมโท ท่านก็เดินทางมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ในช่วงเวลา 2 เดือนท่านได้พบเห็นความหย่อนวินัยของสงฆ์ พลอยให้รู้สึกเบื่อจนคิดจะกลับบ้านไปสึก ท่านกลับไชยาไปสอนนักธรรมที่วัดพระบรมธาตุไชยา ปี 2473 ก็ถูกรบเร้าให้ขึ้นกรุงเทพฯ อีกครั้ง จนสอบได้เปรียญ 3 ประโยคแต่สอบตกเปรียญ 4 เพราะมีความคิดเห็นไม่เหมือนกับครูและผิดหวังกับระบบการเรียนการสอนที่ขาดอิสระ จึงตัดสินใจกลับไชยาไปหาที่สงบเพื่อค้นคว้าธรรมะ วันที่ 12 พฤษภาคม 2475 ก่อนที่คณะราษฎรจะทำการอภิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหาเงื่อมกับ นายธรรมทาส (ยี่เกย) พานิช น้องชายได้ร่วมกันก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรมที่วัดร้างสระตระพังจิก ตั้งชื่อว่า "สวนโมกขพลาราม" ท่านเริ่มศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจังจนถ่ายทอดออกมาเป็นงานเขียน "ตามรอยพระอรหันต์"โดยใช้นามปากกา "พุทธทาส” ทยอยตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์ พุทธสาสนา หนังสือพิมพ์พุทธศาสนาเล่มแรกของไทย ซึ่งท่านกับน้องชายได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2476 จากนั้นท่านได้ศึกษาปรัชญาตะวันออกทั้งเต๋าและเซนออกเผยแพร่ในเวลาต่อมา ในปี 2486 ท่านย้ายสวนโมกข์ฯ มายังวัดธารน้ำไหล เชิงเขาพุทธทอง (ริมถนนเอเชียปัจจุบัน) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ท่านใช้ปฏิบัติ ศึกษา สั่งสอน เขียนหนังสือเผยแพร่ธรรมะจนวาระสุดท้าย ท่านพุทธทาสมรณภาพวันที่ 8 กรกฎาคม 2536 ท่านพุทธทาสเป็นผู้เปิดมิติใหม่ให้แก่พุทธศาสนาในเมืองไทย ปลุกคนจากความงมงายให้ตื่นขึ้นมาพบกับความสว่าง สะอาด สงบ พาผู้คนละจากเปลือกกระพี้มุ่งสู่แก่นแท้ของพุทธศาสนา และนำหลักคำสอนชั้นแก่นและหัวใจของพุทธศาสนาที่ถูกหลงลืม กลับมาสอนใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้น และสามารถเข้าถึงได้ "ที่นี่และเดี๋ยวนี้" …แต่วันนี้สังคมไทยกำลังลืมท่าน และมุ่งหน้าสวนทางกับคำสอนของท่าน ?
Tab Menu 8
!doctype>วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2411 คลองดำเนินสะดวก เปิดใช้งานเป็นวันแรก หลังจากที่ พระบาทมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชดำริ เมื่อปี 2409 เห็นว่าการคมนาคมที่ไปมาระหว่างกรุงเทพฯ - สมุทรสาคร โดยมีคลองภาษีเจริญเป็นเส้นทางคมนาคม ช่วยทำการสัญจรไปมาได้สะดวกดี ถ้ามีคลองระหว่างกรุงเทพฯ - สมุทรสงคราม และราชบุรีก็จะสะดวกขึ้นอีกเป็นอันมาก การไปมาหาสู่โดยทางน้ำก็จะมีความสามารถและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) เป็นผู้อำนวยการขุดคลอง โดยมี สมเด็จพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ควบคุมดูแล เริ่มขุดในปี 2409 เริ่มจากแม่น้ำท่าจีนบริเวณปากคลองบางยาง อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร ไปเชื่อมต่อกับแม่น้ำแม่กลอง ที่ ต. บางนกแขวก อ. บางคนที จ. สมุทรสงคราม โดยใช้กำลังของทหาร ข้าราชการ ประชาชน ตลอดจนแรงงานชาวจีนที่ร่วมกันขุด โดยใช้แรงงานคนล้วน ๆ ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องทุ่นแรง ใช้เวลาในการขุดประมาณสองปีเศษจึงเสร็จ สิ้นงบประมาณในการขุด 1,400 ชั่ง หรือประมาณ 112,000 บาท คลองดำเนินสะดวกยาว 840 เส้นหรือประมาณ 32 กม. รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าคลองนี้ขุดได้ตรง สะดวกต่อการสัญจร จึงพระราชทานนามให้เป็นมงคลว่า "คลองดำเนินสะดวก" ปัจจุบันคลองแห่งนี้ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดราชบุรีคือตลาดน้ำดำเนินสะดวก
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ทรัพย์เป็นทั้งเครื่องปลื้ มใจและทำให้ทุกข์ใจ
ทรัพย์ แปลว่า ความปลื้มใจ
เมื่อยังไม่ได้ทรัพย์ยังกำลังต้ องการแสวงหาอยู่ มันก็ร้อนใจ ไม่ได้มาตามที่ตัวพอใจ มีความกระวนกระวายใจอยู่ เพราะทรัพย์ที่ยังไม่ได้มา ครั้นได้ทรัพย์นั้นมา ก็กระวนกระวายใจอยู่ด้วยความรั กความยินดี ความหวง ความวิตกกังวล ความระแวงว่าจะถูกลักถูกขโมย หรือจะเปลี่ ยนแปลงไปโดยประการใดประการหนึ่ งก็นอนไม่ค่อยหลับเพราะทรัพย์ที ่ได้มา
แล้วมันจะปลื้มใจกันที่ตรงไหน นี่ก็เพราะว่าเขาไม่รู้จักมีทรั พย์ให้ถูกต้อง
ทรัพย์ แปลว่า ความปลื้มใจ
เมื่อยังไม่ได้ทรัพย์ยังกำลังต้
แล้วมันจะปลื้มใจกันที่ตรงไหน นี่ก็เพราะว่าเขาไม่รู้จักมีทรั
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)