วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คาถาที่20


ความทุกข์
แยกเป็น3 หลัก
1 ความทุกข์สำหรับรู้เรื่อง ผู้ฟังนั้นไม่ได้ใจรู้จักตัวทุกข์ที่เป็นตัวจริง เพียงแต่รู้เรื่องที่อ่าน ที่ฟังเอามา เขาก็พูดได้เหมือนกันว่าความทุกข์เป็นอย่างนั้น ความทุกข์เป็นอย่างนี้
2. ความทุกข์สำหรับรู้จัก จะต้องมองเข้าไปข้างในที่ตัวความรู้สึก เมื่อเป็นทุกข์ เมื่อมีความทุกข์ แต่ถ้าคนมันโง่เกินไป ก็เห็นความทุกข์เป็นความสุข เป็นความเพลิดเพลิน เป็นความสนุกไปเสียก็ได้ และมันก็ไม่อยากมองในฐานะที่จะเป็นตัวความทุกข์ มันมองเป็นปัญหาชนิดหนึ่ง แล้วก็ดิ้นรนต่อสู้กันไป เราต้องดูที่ตัวความรู้สึก ที่รู้สึกอยู่ในใจ เช่น ผูกมัดรัดตรึงก็เป็นทุกข์ ครอบงำให้มืดมิด ก็เป็นทุกข์ เผารนให้เร่าร้อน  เสียบแทงให้เจ็บปวด เบียดเบียนโดยวิธีใดอีกหลายๆชื่อ หลายๆความหมาย  มันเป็นทุกข์ทั้งนั้น เมื่อความรู้สึกอย่างนั้นปรากฏขึ้นมาก็เรียกว่าเรารู้จักความทุกข์ 
3 ความทุกข์สำหรับละให้ได้ ต้องรู้เรื่องความทุกข์นั้นทั้งเหตุทั้งปัจจัยที่เกิดขึ้นอยู่จริงๆ คิดนึกอย่านี้แล้วก็เป็นทุกข์ คิดนึกอย่างนี้แล้วก็ไม่เป็นทุกข์  เช่น ไปยินดีเข้ามันก็มีความทุกข์แบบซ่อนเร้น ไปยินร้ายเข้ามันก็เป็นทุกข์แบบเปิดเผย ความรักก็เป็นทุกข์แบบความรัก ความเกลียดก็เป็นความทุกข์แบบของความเกลียด ให้รู้สึกว่า เมื่อไปรักเข้ามันก็มีความทุกข์ เมื่อไปเกลียดเข้ามันก็มีความทุกข์ แล้วทำไมจึงไปรักหรือไปเกลียด ก็เพราะว่ามันโง่  ทำไมมันจึงโง่ เพราะมันไม่มีสติปัญญา รู้กันให้ดีๆอย่างนี้ เป็นชั้นเป็นชั้นตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ก็เรียกว่ารู้ความทุกข์สำหรับจะละมันเสียให้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น