วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

สรรพสิ่งเป็นอย่างที่เป็น หรือเป็นเช่นนั้นเอง (ตถาตา

เมื่อเรามองสรรพสิ่งว่าเป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน
ความเป็นของคู่ก็มลายหายไปจากจิต (ความคิด)
เช่นเดียวกับความเป็นหนึ่งเดียวก็จะหายไปจากจิตด้วย
นั่นก็คือ เมื่อความเป็นของคู่ดำรงอยู่
ความเป็นหนึ่งเดียวก็ดำรงอยู่

เฉกเช่นเมื่อเราบอกว่าไม้ท่อนนี้ยาว
ความเป็นไม้ท่อนสั้นก็อุบัติขึ้นอย่างฉับพลัน
เมื่อพูดว่าเราเป็นคนดี
ความเลวของเราก็ปรากฏขึ้นโดยพลัน
จากนี้จึงอาจจะกล่าวได้ว่าของคู่เกิดจากสิ่งหนึ่งเดียว
คุณลักษณะสรรพสิ่งเป็นเช่นไร
ล้วนเกิดจากความคิดที่เปรียบเทียบ
ถ้าไม่มีความคิดเปรียบเทียบสรรพสิ่งก็ว่าง
และสรรพสิ่งเป็นอย่างที่เป็น หรือเป็นเช่นนั้นเอง (ตถาตา)



ขอบคุณ ภาพประกอบเรื่อง จาก
http://photovide.com/street-art-3/
http://www.theinkprosblog.com/lyrics-of-speech-the-prepositions/


วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

วิถีแห่งเซน ปรัชญา คำคม และการดูแลสุขภาพ: เซนคือวิธีแห่งการรู้แจ้งอันสมบูรณ์

วิถีแห่งเซน ปรัชญา คำคม และการดูแลสุขภาพ: เซนคือวิธีแห่งการรู้แจ้งอันสมบูรณ์: เซนคือวิธีแห่งการรู้แจ้งอันสมบูรณ์ ใครก็ตามที่ได้ปฏิบัติเซน ย่อมสามารถเข้าถึง การรู้อย่างฉับพลัน และใช้ชีวิตใหม่ในสถานะแห่งพุทธะ เซน...

เซนคือวิธีแห่งการรู้แจ้งอันสมบูรณ์

เซนคือวิธีแห่งการรู้แจ้งอันสมบูรณ์
ใครก็ตามที่ได้ปฏิบัติเซน ย่อมสามารถเข้าถึง การรู้อย่างฉับพลัน และใช้ชีวิตใหม่ในสถานะแห่งพุทธะ
เซนอยู่ในชีวิตประจำวันนั่นเอง เป็นชีวิตตามธรรมดาๆ แต่ก็ไม่ใช่ธรรมดาตามธรรมดาที่เราเข้าใจกันอยู่โดยปกติทั่วไป
ที่จริงเซนนั้นก็เหมือนกับการตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน กินอาหาร อาบน้ำ ล้างถ้วย ล้างชาม อันเป็นกิจวัตรสามัญประจำวันของคนเรา ดำเนินไปตามครรลองที่มันควรจะเป็นเท่านั้นเอง
วิธีการปลุกเร้ากายใจให้สดชื่นนั้น คือ ถึงเวลาหิวก็กินข้าว ถึงเวลาอ่อนเพลียก็นอน ซึ่งเป็นท่วงทำนองของธรรมชาติ ที่ตัวตนจะดำรงอยู่ ณ ที่นี้อย่างแท้จริงอยู่เสมอ
จงใช้ชีวิตอยู่กับเหตุ ทิ้งผลไว้ให้แก่กฎอันยิ่งใหญ่ของจักรวาล
จุดมุ่งหมายของเซน คือการทำให้เราตระหนักว่าไม่มีตัวตน
ใช้ชีวิตอยู่ในโลก แต่อย่าให้ฝุ่นของโลกเกาะติดได้ เหมือนดอกบัวเกิดในโคลนตม แต่ไม่ติดโคลนตมฉันนั้น
ชีวิตนี้แสนสั้น เราย่อมไม่อาจที่จะใช้ชีวิตที่มีเวลาอยู่นี้ ไปในการขบคิดใคร่ครวญเรื่องทางอภิปรัชญา อย่างไม่มีวันสิ้นสุด เพราะอภิปรัชญาไม่อาจนำไปสู่สัจจะอันยิ่งใหญ่ได้เลย
ชีวิตของเราจะสูญเปล่าไป หากเราหลีกหนีการใช้ชีวิตตามความจริง เมื่อไปอยู่ในโลกแห่งความคิดอันล้ำลึกแล้ว เราก็จะเป็นเพียงวิญญาณพเนจร หากยังวุ่นวายอยู่ด้วยความคิดว่ามีหรือไม่มี ชีวิตก็จะสูญเปล่าไปเสีย
ให้ดูทุกข์ และความไม่มีทุกข์ ที่มีอยู่ในใจ จึงจะเข้าถึงธรรมที่ปราศจากทุกข์ได้
ปาฏิหาริย์ที่แท้ อยู่ในชีวิตประจำวันธรรมดาๆ นี่เอง ให้กิจวัตรประจำวันดำเนินไปตามครรลองของมันอย่างเป็นธรรมชาติ ชีวิตคุณมีอยู่เพียงขณะเดียว อดีตก็ละไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ก็แต่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น
เดี๋ยวนี้ คือสิ่งที่เรา เป็น มันไม่สามารถจะเป็น เป้าหมาย หรือ ภาวะ ที่เราจะต้อง มุ่ง ไปให้ถึง เดี๋ยวนี้ คือการกระทำ หรือ ความเคลื่อนไหว ซึ่งปรากฏอยู่ในขณะนี้ ก่อนที่ ความคิด จะปิดบังมันไว้เสีย
ถ้าเราพบความผิดในบุคคลอื่น เราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกัน เมื่อผู้อื่นทำผิด เราไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่ เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเอง ในการที่จะไปรื้อหาความผิด
ทุกๆ ครั้งที่มีการเตือนตนเองให้ถ่อมตน อัตตาของตนก็จะขยายทั้งแง่ขอบเขตและกำลัง ความถ่อมตนที่แท้จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้นึกถึงความถ่อมตน วิปัสสนานั้นไม่ใช่การให้ความสำคัญแก่ตนเอง หรือการปฏิเสธละทิ้งตนเอง
มันจะมีประโยชน์อะไร ที่จะมานั่งอภิปรายกันว่า ต้นหญ้าและต้นไม้ตรัสรู้ได้อย่างไร ปัญหามันอยู่ที่ว่า ตัวท่านเองนั่นแหละ จะสามารถบรรลุถึงการตรัสรู้ได้อย่างไร
ยึดมั่นคราใดเป็นทุกข์ครานั้น การปฏิบัติทุกอย่างต้องมาลงที่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น สิ่งใดหรือเรื่องใดที่ปฏิบัติแล้ว ยิ่งทำให้เกิดยึดมั่นถือมั่นมากยิ่งขึ้น ถือว่าผิดแล้ว
การตรัสรู้ธรรมหรือไม่ หาได้อยู่ที่การปฏิบัติเข้มงวด หรือเคร่งครัดเป็นเวลานานไม่ แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ต่างหาก
ระหว่าง รู้ กับ ทำ นั้นช่างห่างไกลกันเสียเหลือเกิน
คำของปรมาจารย์รุ่นแรกสุดของเซ็น มีอยู่ 4 ประโยค
1. พ้นจากการบัญญัติ
2. เข้าถึงไม่ได้ด้วยการเรียนตามตำรา
3. ลัดตรงเข้าสู่ใจ
4. มองดู (รู้) พุทธะก็เกิด

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

ตามหลักธรรมนิกายเซ็นแล้ว สรรพสิ่งมันเป็นเช่นนั้น  คือมีสภาวะแห่งความว่างเปล่า และปราศจากการยึดมั่น ถือมั่น อยู่แต่เดิม ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ต้องมีการปล่อย หรือวางใด ๆ เพราะความคิดปรุงแต่ง หรือคิดเอาเองว่า มีการยึดมั่น ถือมั่น หรือยึดติด ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใคร (คนไม่มี)  การยึดติดจึงไม่มี  สรรพสิ่งไหลเวียนเปลี่ยนแปลง ไม่คงทนคงที่  หรือไม่อยู่ในสภาพเดิมแม้แต่วินาทีเดียว
 พูดอย่าง เถรวาท แล้ว หมายความว่า สรรพสิ่งเป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) อย่างนั้นเองอยู่แล้ว  มนุษย์จึงหมดหน้าที่ใด ๆ ในการที่จะไปให้ค่า ให้ความหมาย หรือเข้าไปยึดเป็นเจ้าของสรรพสิ่งบนโลก  
ZenInBrief006

แม้แต่จะคิดว่าร่างกายนี้เป็นเรา ก็ไม่ได้เป็นของเราจริง ๆ หรือจะยึดมั่น ถือมั่น ในกาย  หรือจะปล่อยวางกาย ก็มิได้เป็นจริง เป็นจะอะไร  เพราะกายก็ไม่มี เราก็ไม่มี แล้วจะเอาอะไรมาปล่อยอะไร  การไม่ปล่อยวางอะไรเลยนั่นแหละเป็นการปล่อยวางที่บริสุทธิ์จริง ๆ  เมื่อเราปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างปล่อยวางตัวของมันเอง นั่นก็คือจะเป็นการปล่อยวางที่บริสุทธิ์และเป็นการปล่อยวางที่แท้จริง



ด้วยเหตุที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวง (ธรรมะ) เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดนึกของมนุษย์ ที่พูดเอาเอง คิดเอาเอง ตามความจำและตามความรู้ของตนสรรพสิ่งมิได้เป็นสิ่งใดหรือเรื่องราวใด นั่นก็คือสรรพสิ่งมิได้มีอยู่เป็นอยู่อย่างจริงจังแต่ประการใด ที่เรียกเป็นภาษาธรรมะว่า เป็น “มายาภาพ”หรือของปลอม ของหลอกลวง ของไร้สาระ จึงยึดถือหรือเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมิได้
แม้ผู้ใด จะเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นสักแต่พูดเอาว่า ยึดมั่น ถือมั่น และยึดถือไม่ได้  เพราะคำพูดดังกล่าวนี้ ก็เป็นเพียงสื่อ หรือคำพูดเท่านั้นเอง  ตามคำสอนของเซ็นแล้ว การยึดมั่น ถือมั่นก็เป็นแต่เพียงความคิดปรุงแต่ง ไม่มีความยึดมั่นที่เป็นจริงใด ๆ เลย
แม้แต่คำพูดว่า สรรพสิ่งเป็นมายา แท้ที่จริงแล้วไม่มีอะไรเป็นมายา หรือไม่เป็นมายาใด ๆ เลย  ขอย้ำว่า ตามสภาวธรรมแล้ว ไม่มีอะไรเป็นมายา หรือไม่เป็นมายา สิ่งภายนอกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปนั้นเป็นธรรมดา เช่นนั้นเอง  ถ้าหากเราพูดว่า สรรพสิ่งล้วนเป็นมายา แสดงว่า เราก็ไปติดดี ติดชั่ว หรือไปหมายดี หมายชั่วอีก  
ZenInBrief007

ดังนั้น จึงต้องกล่าวต่อไปว่า สรรพสิ่งเป็นทั้ง 2 ด้าน คือเป็นทั้งมายา และไม่เป็นมายา หมายถึง มิอาจจะบอกได้ว่าสรรพสิ่งมีสภาวะ หรือมีคุณลักษณ์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างบอกได้แต่เพียงว่า สรรพสิ่งเป็นเช่นนั้นเอง หรือเป็นอย่างที่มันเป็น และเป็นอย่างที่มนุษย์ตั้งให้เป็น

Zen สรุปคำสอนนิกายเซนตอนที่ 1

Zen สรุปคำสอนนิกายเซนตอนที่ 1
หัวใจสำคัญของหลักธรรมคำสอนพุทธศาสนานิกายเซ็น ก็เป็นเข่นเดียวกับหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนานิกายเถรวาทนั่นเอง เพราะทั้งสองนิกายนี้ล้วนเป็นหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่มีพระศาสดาองค์เดียวกัน มิอาจจะแบ่งแยกหลักธรรมคำสอนเป็นสองสิ่ง ที่เรียกว่า “ทวิลักษณ์” ใด ๆ ได้



 ที่สำคัญยิ่งก็คือทั้ง เซ็น และเถรวาท ก็เป็นเพียงชื่อเรียกเท่านั้นเอง โดยสภาวะแล้ว ก็หาได้มี เซ็น และมี เถรวาท แต่ประการใดไม่ นั่นเป็นเพราะทั้งเซ็น และ เถรวาท ล้วนเป็นคำพูด หรือตัวอักษรที่มนุษย์บัญญัติขึ้น ก็มาจากความไม่มีไม่เป็นนั่นเองนั่นก็คือ ทั้งคำพูดและตัวอักษรที่นำมาบอกกล่าวกัน เช่น คำว่า เซ็น  เถรวาท  ความว่าง  ความไม่ว่าง  ความไม่มี  ความไม่เป็น  หรือที่เรียกกันว่า “ภาวะ” และ “อภาวะ” นั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มี ไม่เป็น และล้วนแต่เกิดจากความคิดปรุงแต่งของมนุษย์ ทั้งนี้ การที่ธรรมชาติทั้งหลายมี 2 สภาวะ หรือหลายสภาวะ ก็เพราะความคิดปรุงแต่ง  เฉพาะอย่างยิ่งทันทีที่เริ่มต้นคิดปรุงแต่งในทางที่เป็นตัวเป็นตน เป็นเราขึ้นมา ก็ทำให้เกิด 2 สภาวะขึ้นอย่างฉับพลัน




ว่าไปแล้ว วัตถุสิ่งของหรือสรรพสิ่งที่กระทบหรือสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่เรียกกันว่า “อายตนะ” นั้น เป็นกระบวนการทำงานของรูป นาม หรือ ขันธ์ 5 ที่ส่งและรับต่อกันไป เข่น ทันทีที่รับรู้ทางอายตนะแล้วส่งไปที่ความจำ (สัญญา)  แล้วบันทึกไว้ จากนั้นก็ส่งต่อไปที่ความคิดปรุงแต่ง (สังขาร)  คือคิดนึกตามความรู้และความจำนั่นเอง ถ้าเป็นปุถุชน คิดปรุงแต่ง ก็จะปรุงแต่งว่าดีหรือเลว พอใจหรือไม่พอใจ สวยหรือน่าเกลียด แต่ถ้าเป็นความคิดปรุงแต่งของอริยชน หรืออริยสงฆ์ ก็จะปรุงแต่งว่า ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ เป็นเพียงสิ่งสมมุติ


เฉพาะอย่างยิ่ง ความคิดปรุงแต่งใด ๆ ก็ไม่ใช่ความคิดปรุงแต่งของใคร  และ แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีใครคิดปรุงแต่ง  ไม่มีใครเป็นผู้รู้  ไม่มีใครเป็นผู้จำ  ที่จำ ที่รู้ ที่คิดปรุงแต่ง ก็เป็นเพียงสักแต่ว่า ... เท่านั้นเอง

ว่าไปแล้วทั้งหลายทั้งปวงเป็นแต่เพียงสิ่งที่เกิดขึ้นตามสภาวธรรม หรือตามกฎธรรมชาติ หรือเป็นกฎของจักรวาล หรือเป็นกระบวนการของสรรพสิ่งที่มีภาวะ “ความเป็นเช่นนั้นเอง” ที่เรียกว่า “ตถาตา” คือ สรรพสิ่งเป็นอย่างที่มันเป็น แม้มนุษย์จะตั้งให้มันเป็นอะไร มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่ตั้ง ขอย้ำว่า มันเป็นอย่างที่มันเป็น มิอาจจะบอกได้ว่ามันเป็นอะไร และมิอาจจะแบ่งแยกสรรพสิ่งด้วยความคิดและคำพูดใด ๆ ได้

กระนั้นเมื่อมนุษย์สมมุติว่า เป็น ว่า มี อย่างหนึ่ง อย่างใดแล้ว  ก็เอากายและจิตกระทำไปตามสมมุตินั้น  เช่นสมมุติว่า มีคนอยู่ในสังคม ก็ต้องสมมุติต่อไปว่า สังคมเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้  ในสังคมมีอย่างนั้น มีอย่างนี้

ดังนั้น จึงมีถ้อยคำ ตัวอักษร และภาษาเกิดขึ้น  เพื่อเป็นสื่อหรือเครื่องมือสำหรับมนุษย์สื่อสารต่อกัน  เพื่อที่จะรู้เรื่องราวต่าง ๆ และเพื่อที่จะได้มีชีวิตอย่างสะดวกสบาย เมื่อคนเข้าใจว่า คำพูดหรือภาษาเป็นเรื่องจริง ต่อมาสังคมมนุษย์เจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ  ก็ได้มีการบัญญัติสิ่งต่าง ๆ ขึ้นด้วยคำพูด เรียกว่า “วจีวิญญัติ” มากมายสุดคณานับ วจีวิญญัติ หมายถึงการกำหนดขึ้น  ตั้งขึ้น  เพื่อเป็นสื่อความหมายในการใช้พูดจา ทั้ง ๆ ที่บางเรื่องบางสิ่ง มนุษย์พูดขึ้นมาลอย ๆ สิ่งที่มนุษย์คิดนึกและพูดจากันนั้น หาได้เป็นของที่มีอยู่ เป็นอยู่ใด ๆ ไม่  และพูดแล้วก็ละลายหายไปกับอากาศธาตุ  เมื่อเกิดความคิดปรุงแต่งใหม่ ก็เก็บความคิดนั้นมาพูดซ้ำ หรือปรุงแต่งใหม่ จึงเกิดสุข เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญก็คือ มันปรุงแต่งหรือคิดปรุงแต่งแล้วก็ดับไป แล้วก็คิดปรุงแต่งใหม่ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า


 แต่ถ้ามีสติรู้เท่าทันขันธ์ 5 ว่าแท้จริงแล้ว ขันธ์ 5 นั้น ไม่ใช่ขันธ์ 5 ของใคร  และไม่เป็นตัวเป็นตน ดังนั้น ขันธ์ 5 จะคิดปรุงแต่งอย่างไร ก็ไม่มีใครไปทำอะไรมันได้ เพียงรู้แค่นี้ เรียกว่า “ปล่อยวางขันธ์ 5”  ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ละสักกายทิฐิ”  คือละความเห็นผิดเกี่ยวกับร่างกาย ว่าไม่เป็นใคร ไม่เป็นอะไร เป็นตถาตา เช่นนั้นเอง  ใครปล่อยวางได้ก็ดับทุกข์ได้ ทำให้ว่างจากผู้กระทำ (กรรม)  จึงไม่ต้องไปเวียนว่ายตายเกิด (วัฏสงสาร)  คือเกิดความคิดในความเป็นที่เป็นตัวเป็นตนกันอีกต่อไป

Zen

แม้ว่าการศึกษาหาความรู้จากคำสอนจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และอาจเรียนรู้จากผู้อื่น ที่เรียกว่า “ปริยัติธรรม” ทั้งจากท่านผู้รู้ที่เป็นครูบาอาจารย์  หรือกัลยาณมิตรเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม แต่ถ้าหากเราไปยึดติดตำรา ครูบาอาจารย์  โดยไม่ยอมรับฟังจากใครว่าสิ่งที่เราประสบพบเห็นเป็นสิ่งดีงาม  เป็นสิ่งถูกต้อง  เป็นสิ่งเที่ยงแท้  ก็จะกลายเป็นการยึดมั่นในธรรมะ  จึงกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ธรรมราคะ” คือการยึดติดธรรมจนเกิดราคะ

ทั้งนี้ โดยเนื้อแท้แล้วชื่อเรียกสิ่งใดก็ตาม  ล้วนเป็นสิ่งสมมติบัญญัติขึ้นทั้งสิ้น  เพื่อเป็นสื่อในการพูดจาสนทนาถึงสรรพสิ่ง  ที่อยู่รอบตัวเราว่าคืออะไรเป็นอะไร  ควรใช้สอยหรือเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกชั่วระยะเวลาหนึ่ง  ที่เรียกว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับมนุษย์ขณะที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น  เช่นเดียวกับธรรมะก็เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่จำเป็น  ที่เรียกว่าพาหนะหรือพ่วงแพที่นำผู้คนจากฝากหนึ่งสู่อีกฝากหนึ่ง 
เหนืออื่นใดพึงเข้าใจว่าสรรพหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง  รวมทั้งร่างกายและจิตใจ เปรียบประดุจดั่งวัตถุสิ่งของที่นำมาใช้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวชั่วขณะ แล้วก็ทิ้งมันไป แม้ไม่ทิ้งมันไปมันก็จะเสื่อมสลาย และแตกดับไปตามธรรมดา ตามธรรมชาติ ตามกาลเวลา  
ที่เรียกว่าเสื่อมสลายและแตกดับ  ก็เป็นแต่เพียงภาษาสมมติ   ซึ่งเป็นคำพูดที่ต้องการให้เป็นสิ่งที่มีเหตุผล  คือเป็นปัญญาระดับเหตุผลเท่านั้น ในทางปรมัตถธรรมแล้ว  ไม่มีการเสื่อมสลายไม่มีการแตกดับอะไรทั้งสิ้น  เป็นแต่เพียงความเป็นเช่นนั้น (ตถาตา)  ซึ่งจะบอกว่ามันดำรงอยู่  และเปลี่ยนสภาพไปตามเหตุและปัจจัยก็ได้  แต่ต้องเข้าใจว่ามนุษย์ต้องมีการบัญญัติเรียกขานกันเป็นภาษาชาวโลกหรือภาษามนุษย์   เช่นบอกว่ามันเกิดขึ้น  มันตั้งอยู่  และมันเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา  เป็นต้น
ว่าไปแล้วอริยชนหรือมนุษย์ทุกคน  ก็ใช้ภาษาสมมติตามชาวโลก  แต่ภายในความคิดหรือความรู้สึกของอริยชนนั้น ทั้งการเกิด(อุบัติ) ขึ้น ตั้งอยู่และเสื่อมสลาย คือสิ่งเดียวกัน อริยชนไม่เห็นว่ามันมีความแตกต่างกัน หรือมีความเหมือนกัน  นั่นก็คือมีแต่ความเป็นเช่นนั้น (ตถาตา)
อย่างไรก็ตามคือสิ่งที่ต้องเรียนรู้  และสิ่งที่ต้องศึกษาจากสภาวะต่างๆ นั้น  ในระยะต้นจำเป็นที่จะต้องศึกษา  และปฏิบัติธรรมด้วยการฟังคำบอกเล่าจากผู้อื่น  แต่ในที่สุดแล้วต้องนำมาพิจารณา  หรือนึกคิดอย่างแยบคาย ที่เรียกว่า “วิปัสสนาญาณ” หมายถึงการหยั่งรู้เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจว่า  ร่างกายนี้มันไม่เป็นของใครหรือไม่เป็นของเราที่ตรงไหน  คือไม่มีเราในกายในจิต  ไม่มีจิตมีกายในเรา
เมื่อเพ่งพิจารณาถึงที่สุดแล้ว   ทั้งรูปและนาม  ทั้งร่างกายและจิต  ล้วนเกิดจากความรู้สึกนึกคิด  แล้วบังเกิดเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยตนเองว่า  ทั้งร่างกายและจิตใจที่ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทว่าไร้แก่นสารและไร้สาระ  เต็มไปด้วยของปฏิกูล  และมีภาวะตั้งอยู่ชั่วคราวไม่มีลักษณะใดที่คงทนถาวร (เที่ยง)  มีการแปรเปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัยในทุกเวลาทุกวินาที เรียกว่ามันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


ด้วยเหตุเพราะมันต้องอิงอาศัยสิ่งอื่นดำรงอยู่ เมื่อเหตุปัจจัยที่มันอาศัยเปลี่ยนแปลง มันก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยนั้น มันจึงไม่เป็นใคร จึงไม่เป็นอะไรด้วยประการฉะนี้ จากคำสอนของเถรวาทบอกว่า  สภาวะของตนที่อาศัยเหตุปัจจัยเรียกว่า “สวลักษณะ” นั้น  นั่นก็คือดำรงอยู่ด้วยการอาศัยสิ่งอื่น  ตัวมันเองมิอาจดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว  จึงไม่มีสิ่งใดเลยที่ปราศจากสวลักษณะ 




ด้วยเหตุที่สรรพสิ่งต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน  และตัวมันจึงว่างเปล่า   เป็นความว่างจากความสำคัญมั่นหมาย  ว่างจากการให้ค่าว่าเป็นคนเป็นสัตว์เป็นตัวเป็นตน  ที่ว่าว่างเปล่าจากตัวตนเพราะเมื่อเหตุปัจจัย  หรือสิ่งที่มันอาศัยสิ่งอื่นหมดสิ้นไป  ตัวของมันเองก็จะดับสูญไปด้วย
ดังนั้นจึงมิอาจจะบอกหรือกำหนดหมายได้ว่า  สิ่งต่างๆ “มีอยู่” หรือ “ไม่มีอยู่”  เพราะการมีอยู่และไม่มีอยู่ของสรรพสิ่ง  ล้วนต้องขึ้นกับสิ่งอื่น  เพราะมันเป็น “สวลักษณะ” คือดำรงอยู่เพราะสิ่งอื่น 
 
 ยกตัวอย่างร่างกายและจิตใจของเรา  เป็น “สวลักษณะ” คือมันต้องอาศัย  “บิดาและมารดา” เป็นผู้ให้กำเนิด  เราจะเกิดขึ้นมาลอยๆ  โดยไม่อาศัยเหตุปัจจัยอะไรไม่ได้  ยิ่งเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วต้องอาศัยน้ำ  อาหาร  ซึ่งเป็นปัจจัยสี่  เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้  หากขาดอาหารและขาดอากาศที่หายใจแล้ว  ชีวิตก็จะดำรงอยู่ไม่ได้ต้องสูญสิ้นไป
นี่คือหลักธรรมคำสอนของฝ่ายเถรวาทที่แท้  ส่วนเถรวาทปฏิรูปหรือแนวอื่นๆ  ก็อาจจะสอนหรือบอกเล่าอีกแบบหนึ่ง  ก็เป็นไปตามความคิดนึกปรุงแต่งของผู้สอน 
นั่นก็คือคำสอนหรือสิ่งที่นำมาบอกมาแนะนำ  นำมาสอนกันนั้น  พุทธศาสนานิกายเซนเห็นว่า  เกิดจากความคิดนึก  หรือความคิดปรุงแต่งทั้งสิ้น  สิ่งที่เกิดจากความคิดปรุงแต่งของมนุษย์  ย่อมเป็นมายาหรือเป็นสิ่งที่ไม่มีความจริงแต่ประการใด 
ผู้ใดเห็นในสัจธรรมความจริงเช่นนี้  ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด  ไม่ยึดติดในอะไร  เพราะอะไรๆ ก็ไม่มี  ไม่จริง  เป็นมายาที่จิตเข้าไปรู้แล้วดับไปเช่นนั้นเอง  ซึ่งการที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งใดๆ นั้น  จำเป็นจะต้องปฏิบัติธรรมให้เห็นว่า  กายและใจมิใช่เป็นของเราหรือของใคร     


ขอบคุณ ภาพประกอบเรื่อง จาก

http://www.tourwat.com/5697/ego/
http://www.travelfreak.com/2013/05/28/5-maritime-disasters-worse-than-the-royal-caribbean-fire/
http://thephotoguide.co.uk/experimental/light/161-colour-transform-light-experiment/
http://apprenticeship101.wordpress.com/2012/05/page/2/
http://www.neatorama.com/2008/01/13/photomosaic-illusion/#!kMlQi
http://www.sookjai.com/index.php?topic=4184.0
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=prommayanee&month=06-2009&date=05&group=14&gblog=1
http://minecraft.wonderhowto.com/inspiration/m-c-eschers-gravity-defying-relativity-illusion-recreated-minecraft-0130040/

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

วิถีแห่งเซน ปรัชญา คำคม และการดูแลสุขภาพ: ถ้าก้าวพลาดไปหนึ่งก้าวจะเป็นไร เพราะยังมีก้าวใหม่ท...

วิถีแห่งเซน ปรัชญา คำคม และการดูแลสุขภาพ: ถ้าก้าวพลาดไปหนึ่งก้าวจะเป็นไร เพราะยังมีก้าวใหม่ท...: ในกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ปลาย่อมว่ายทวนน้ำเสมอ ปลาที่ลอยตามน้ำ ก็มีแต่ปลาตาย มนุษย์ต้องต่อสู้กับอุปสรรค เหมือป...

พื้นฐาน 5 ประการของพุทธนิกายเซน”

“พื้นฐาน 5 ประการของพุทธนิกายเซน”

 
 
 
 
 
 
1 Vote

พื้นฐาน 5 ประการของพุทธนิกายเซน
          (1) ความจริงสูงสุดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงได้ด้วยคำพูด ความจริงสูงสุดของเซนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงออกได้ด้วยคำพูดหรือตัว หนังสือ ดังคำพูดของเซนที่ว่า “การส่งมอบพิเศษนอกคัมภีร์ ไม่ต้องอาศัยคำพูดหรือตัวหนังสือ” ซึ่งก็ตรงกับคำพูดในปรัชญาเต๋าที่ว่า “เต๋าเป็นสิ่งที่ไม่อาจเรียกได้ด้วยคำพูด เต๋าที่เรียกได้ด้วยคำพูดไม่ใช่เต๋าที่แท้จริง” และ “ผู้พูดไม่รู้ ผู้รู้ไม่พูด” พุทธะอันสูงสุดนั้นคือธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ภายในชีวิตของเรานี้เอง เมื่อคำพูดและความคิดปรุงแต่งหยุดลง ธรรมชาติดังเดิมก็พลันปรากฎ
          ดังนั้นเซนจึงมุ่งหวังในเรื่องประสบการณ์ ความตื่นของชีวิตมากกว่าคำพูด ประสบการณ์นี้เรียกว่า “ความว่าง” หรือ “ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ” หรือธรรมชาติดั้งเดิม เปรียบเสมือนการดื่มน้ำร้อนหรือเย็นรู้ได้โดยไม่ต้องบอก
          (2) การฝึกฝนในทางธรรม เป็นสิ่งที่ไม่อาจฝึกได้ (ด้วยความพยายามที่เกิดจากการปรุงแต่ง) ในความคิดปรุงแต่งใดๆก็ตาม จะมีความรู้สึกที่มีตัวตนประสมอยู่ด้วยเสมอ ทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่เป็นภายในกับสิ่งที่เป็นภายนอก และทำให้เกิดความยึดมั่นผูกพันกับวัตถุภายนอก ความพยายามที่เกิดจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นการฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า การท่องพระสูตร การบูชาพระพุทธรูป การประกอบพิธีต่างๆนั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ตรงข้าม บุคคลควรปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ เฝ้าดูและขจัดกระแสแห่งความคิดปรุงแต่ง และจะต้องเข้าถึงธรรมชาติของความเป็นเอง การปฎิบัติธรรมที่แท้จริงจึงเกิดขึ้นได้
          (3) ผลบั้นปลายสุดท้าย ไม่มีอะไรที่ใหม่ ประสบการณ์ของความตื่น ความรู้สึกตัวถึงเอกภาพอันแบ่งแยกมิได้ของสรรพสิ่งทั้งมวล การเห็นแจ้งธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะภายในของตน เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่า ได้อะไรมาใหม่ เพียงแต่เป็นการรู้แจ้งบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่ในตัวเองตลอดเวลาเท่านั้น ปัญหามีเพียงว่าที่เราไม่ได้รู้สึกตัวถึงสิ่งนี้เป็นเพราะอวิชชาของเราเอง ในภาวะของความตื่น เมื่อตัวตนที่ปรุงแต่งถูกขจัดออกไป ธรรมชาติในส่วนลึกลับอันแอบเร้นลับปรากฎตัวขึ้นแทนที่และผู้กระทำจะกระทำ สิ่งต่างๆอย่างปราศจากตัวตนและอย่างเป็นกันเอง
          (4) “ไม่มีอะไรมากในคำสอนทางพุทธศาสนา” แท้จริงแล้วนั้น ส่งที่เรียกว่าความคิด ลัทธิ และคำพูด ไม่มีความหมายแต่อย่างใด สิ่งสำคัญที่สุดเพียงประการเดียวคือ ประสบการณ์ของความตื่นเท่านั้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าพระพุทธเจ้า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าชาวพุทธ และไม่มีแม้กระทั่งสิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนา เพราะตราบใดที่ยังยึดติดในสิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่อาจรู้แจ้งความเป็นจริงใน สิ่งทั้งหลายอยู่ตราบนั้น
          (5) ในขณะที่กำลังหาบน้ำ ผ่าฟืน นั่นแหละ เป็นขณะแห่งการสัมผัสกับชีวิตทางธรรม การตรัสรู้นั้นไม่จำกัดอยู่ในรูปแบบใด ในขณะแห่งการทำงาน ในชีวิตประจำวันก็อาจเป็นขณะแห่งการตรัสรู้ได้ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเป็นสิ่งสากล เราอาจพบมันได้ในทุกหนทุกแห่ง ดังบทเพลงจีนบทหนึ่งที่ว่า
          “ทันทีที่พระอาทิตย์ขึ้น ทันทีที่พระอาทิตย์ตกดิน เราขุดบ่อน้ำ เราไถหว่านบนผืนดิน อำนาจอะไรของเทพเจ้า”
“เราเริ่มต้นทำงาน เราพักผ่อน และเราดื่ม และเรากิน จะมาเกี่ยวข้องกับเรา”
ขอบพระคุณ ข้อมูลจาก http://zixzen.blogspot.com/2007/10/5.html .. และภาพจาก Internet

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

สมบัติๆๆ

1. มนุษย์สมบัติ= ความเต็มพร้อมของประโยชน์อย่างที่มนุษย์ธรรมดาสามัญจะลุถึงได้ ด้วยการเอาเหงื่อไคลเข้าแลก
เป็นอยู่อย่างผาสุกชนิดที่คนธรรมดาสามัญจะพึงเป็นกันอยู่ทั่วไป

2. สวรรค์สมบัติ = ความเต็มพร้อมของประโยชน์ที่คนมีสติปัญญามีอำนาจวาสนาเป็นพิเศษจะพึงถือเอาได้โดยไม่ต้องเอาเหงื่อไคลเข้าแลกก็ยังมีชีวิตรุ่งเรืองอยู่ได้ ท่ามกลางทรัพย์สมบัติเกียรติยศชื่อเสียงและความเต็มเปี่ยมทางกามคุณ

3. นิพพาน สมบัติ = การได้เต็มที่ในความสงบเย็นเพราะไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ เบียดเบียน จัดเป็นประโยชน์ชนิดที่คน 2 พวกข้างต้นไม่อาจจะได้รับ เพราะเขาเหล่านั้นยังจะต้องเร่าร้อนอยู่ด้วยพิษร้ายของ ราคะ โทสะ โมหะ ไม่ปริยายใดก็ปริยายหนึ่งเป็นธรรมดา

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

เติมพลังการทำงานต้อนรับปี2557

ทำงานเพื่องาน ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ เวลานั้นไม่มีฉัน ไม่มีเรา ไม่มีของเรา ไม่มีใครได้ ไม่มีใครเสีย ไม่มีขาดทุน ไม่มีกำไร ไม่ปวดหัว งานก็จะไม่มีความหมายเป็นการงาน แต่จะเป็นของสนุกเหมือนของเล่นผลงานที่ออกมาก็จะดี น่าจะเป็นการทำงานอย่างมีความสุ
  เคล็ดลับของการทำงานด้วยจิตว่าง คือทำให้การงาน_เป็นของสนุก ถ้าทำงานด้วยจิตวุ่นการงานก็กลายเป็นทุกข์ มีความทุกข์